มารยาทไทยกับเด็กนักเรียนสมัยปัจจุบัน
ทุกวันนี้คุณครูเคยสังเกตบ้างหรือเปล่าครับว่า เด็กนักเรียนของเรานั้น นับวันยิ่งไม่รู้จักการไหว้ หรือ ยกมือทักทาย และเอ่ยปากว่า "สวัสดีครับคุณครู หรือ สวัสดีครับ / ค่ะ" มันเป็นเพราะอะไรกันหล๊ะครับ ผมคิดว่าอาจจะเป็นเพราะดังต่อไปนี้
๑. เด็กได้รับการอบรมเรื่องมารยาทไทย ไม่เพียงพอ
๒. เด็กอยู่ในสังคม และสภาพแวดล้อม ที่ก้าวร้าว
๓. คุณครู ประพฤติตัวไม่เหมาะสม ให้เด็กกราบไหว้
๔. เด็กรับวัฒนธรรมต่างชาติ หรือ เอาวัฒนธรรมทางทีวีมาใช้ โดยไม่กลั่นกรอง
๕. ผู้ปกครอง และ สถานศึกษา ไม่ให้ความสำคัญเท่าที่ควร
หรือว่า ท่านอื่นๆ จะให้ความเห็นว่าอย่าง มารยาทอย่างไทย เป็นกริยาอันงดงาม ซึ่งในปัจจุบันนี้ดูเหมือนเด็กไทยเราค่อนข้างจะอ่อนเรื่องนี้ไปสักหน่อย ดังนั้นการปลูกฝังให้ลูกรักเป็นเด็กมีมารยาท ควรเริ่มจากครอบครัวเป็นอันดับแรก
มรรยาทพื้นฐานที่คุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูกมีดังนี้
1. ความสุภาพ เด็กๆเรียนรู้สิ่งนี้โดยการทำเป็นตัวอย่างให้ดู เมื่อเด็กๆเห็นคุณพ่อคุณแม่สุภาพกับผู้อื่น คำพูดที่สุภาพที่คุณพ่อคุณแม่ใช้กับลูก ไม่ว่าจะเป็นคำ “ขอบคุณ” “ ขอโทษ” ล้วนแล้วแต่เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดที่ลูกจะทำตาม หากเราสอนสิ่งเหล่านี้ตั้งแต่ลูกยังเล็กๆ จะทำให้ลูกปฏิบัติตามได้ง่ายขึ้น ดังนั้นหากเราคาดหวังให้ลูกมีมรรยาทที่ดี เราต้องทำตัวเป็นแบบก่อน
2. การรอคอย หมายถึงการไม่ขัดจังหวะและไม่พูดแซงในขณะที่ผู้อื่นยังพูดอยู่ คุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูกให้รู้จักการรอคอยผู้อื่น เช่นรอให้เขาพูดจบเสียก่อน ตัวเองจึงค่อยพูด รอเข้าคิวเวลาเข้าห้องน้ำโดยไม่แซงคนอื่น
3. ไม่ล้อเลียนคนอื่นหรือตั้งฉายาให้คนอื่น แม้ว่าบางครั้งอาจเป็นฉายาตลกๆ เพราะอาจทำให้เกิดการเจ็บปวดภายในจิตใจกับคนอื่นได้ เช่น ยัยหมูอ้วน ไอ้ตัวเหม็น เป็นต้น
4. ไปลา มาไหว้ สวัสดี ทักทาย แขกที่มาเยี่ยมที่บ้านทุกครั้ง สอนมรรยาทการเคารพผู้ใหญ่ คนเฒ่า คนแก่ การกล่าวคำสวัสดีกับเด็กในวัยเดียวกันหรือเด็กที่อายุน้อยกว่า การกระทำเหล่านี้เป็นการปลูกฝังให้ลูกเป็นคนสุภาพเรียบร้อย รุ้จักการวางตัวอย่างถูกต้องตามกาลเทศะ
5. เก็บของให้เรียบร้อยหลังทำกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นการเล่นของเล่นที่บ้าน หรือไปเล่นที่บ้านเพื่อนก็ตาม ต้องเก็บของให้เรียบร้อยทุกครั้งหลังทำกิจกรรมให้เสร็จเป็นอย่างๆ อย่าเริ่มกิจกรรมใหม่หากกิจกรรมเดิมยังไม่ได้เก็บให้เรียบร้อย
6. ให้ลูกรู้จักการแพ้ ชนะมีน้ำใจนักกีฬา หลังการเล่นเกมหรือกีฬาทุกครั้ง ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไรก็ตาม ให้ลูกเป็นคนที่มีมรรยาทและมีน้ำใจนักกีฬา เช่นหากเด็กๆชนะ อย่าให้เด็กทำท่าเยาะเย้ยเพื่อนที่แพ้ แต่ให้แสดงความมีน้ำใจ แต่หากแพ้ก็ให้มีน้ำใจนักกีฬาไม่ตีโพยตีพาย โกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยง หรือทำตัวเป็นพาลเกเร
7. สอนการเปิดปิดประตู ให้ผู้ใหญ่เดินเข้าก่อน ไม่ปิดประตูใส่หน้าผู้อื่น หรือรีบแซงวิ่งเข้าไปก่อน หากมีคนเปิดประตูให้ ให้กล่าวคำขอบคุณ เป็นต้น
8. สอนการเดินเข้าออกลิฟท์ ให้คนข้างในออกมาก่อนที่ตัวเองจะเดินเข้าไป เช่นเดียวกับการเดินเข้าออกอาคาร ให้คนข้างในเดินออกก่อน ตัวเองจึงจะเดินเข้าไป
9. สอนให้ลูกรู้ว่าทุกคนเป็นคนพิเศษ ไม่ว่าคนคนนั้นจะมีความแตกต่างกับเรา หรือ ครอบครัวของเรามาก อาจเป็นเพราะความแตกต่างด้านวัฒนธรรม ศาสนา หรือเชื้อชาติ แต่ทุกคนเป็นคนพิเศษ สอนให้ลูกรู้จักให้เกียรติคนทุกคน
10. สอนมรรยาทการรับประทานอาหาร การใช้ช้อนส้อมที่ถูกวิธี การไม่พูดคุยระหว่างรับประทานอาหาร การไม่รับประทานอาหารมูมมาม การไม่เคี้ยวอาหารเสียงดัง การรู้จักการใช้ช้อนกลาง เป็นต้นไรครับ
๑. เด็กได้รับการอบรมเรื่องมารยาทไทย ไม่เพียงพอ
๒. เด็กอยู่ในสังคม และสภาพแวดล้อม ที่ก้าวร้าว
๓. คุณครู ประพฤติตัวไม่เหมาะสม ให้เด็กกราบไหว้
๔. เด็กรับวัฒนธรรมต่างชาติ หรือ เอาวัฒนธรรมทางทีวีมาใช้ โดยไม่กลั่นกรอง
๕. ผู้ปกครอง และ สถานศึกษา ไม่ให้ความสำคัญเท่าที่ควร
หรือว่า ท่านอื่นๆ จะให้ความเห็นว่าอย่าง มารยาทอย่างไทย เป็นกริยาอันงดงาม ซึ่งในปัจจุบันนี้ดูเหมือนเด็กไทยเราค่อนข้างจะอ่อนเรื่องนี้ไปสักหน่อย ดังนั้นการปลูกฝังให้ลูกรักเป็นเด็กมีมารยาท ควรเริ่มจากครอบครัวเป็นอันดับแรก
มรรยาทพื้นฐานที่คุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูกมีดังนี้
1. ความสุภาพ เด็กๆเรียนรู้สิ่งนี้โดยการทำเป็นตัวอย่างให้ดู เมื่อเด็กๆเห็นคุณพ่อคุณแม่สุภาพกับผู้อื่น คำพูดที่สุภาพที่คุณพ่อคุณแม่ใช้กับลูก ไม่ว่าจะเป็นคำ “ขอบคุณ” “ ขอโทษ” ล้วนแล้วแต่เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดที่ลูกจะทำตาม หากเราสอนสิ่งเหล่านี้ตั้งแต่ลูกยังเล็กๆ จะทำให้ลูกปฏิบัติตามได้ง่ายขึ้น ดังนั้นหากเราคาดหวังให้ลูกมีมรรยาทที่ดี เราต้องทำตัวเป็นแบบก่อน
2. การรอคอย หมายถึงการไม่ขัดจังหวะและไม่พูดแซงในขณะที่ผู้อื่นยังพูดอยู่ คุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูกให้รู้จักการรอคอยผู้อื่น เช่นรอให้เขาพูดจบเสียก่อน ตัวเองจึงค่อยพูด รอเข้าคิวเวลาเข้าห้องน้ำโดยไม่แซงคนอื่น
3. ไม่ล้อเลียนคนอื่นหรือตั้งฉายาให้คนอื่น แม้ว่าบางครั้งอาจเป็นฉายาตลกๆ เพราะอาจทำให้เกิดการเจ็บปวดภายในจิตใจกับคนอื่นได้ เช่น ยัยหมูอ้วน ไอ้ตัวเหม็น เป็นต้น
4. ไปลา มาไหว้ สวัสดี ทักทาย แขกที่มาเยี่ยมที่บ้านทุกครั้ง สอนมรรยาทการเคารพผู้ใหญ่ คนเฒ่า คนแก่ การกล่าวคำสวัสดีกับเด็กในวัยเดียวกันหรือเด็กที่อายุน้อยกว่า การกระทำเหล่านี้เป็นการปลูกฝังให้ลูกเป็นคนสุภาพเรียบร้อย รุ้จักการวางตัวอย่างถูกต้องตามกาลเทศะ
5. เก็บของให้เรียบร้อยหลังทำกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นการเล่นของเล่นที่บ้าน หรือไปเล่นที่บ้านเพื่อนก็ตาม ต้องเก็บของให้เรียบร้อยทุกครั้งหลังทำกิจกรรมให้เสร็จเป็นอย่างๆ อย่าเริ่มกิจกรรมใหม่หากกิจกรรมเดิมยังไม่ได้เก็บให้เรียบร้อย
6. ให้ลูกรู้จักการแพ้ ชนะมีน้ำใจนักกีฬา หลังการเล่นเกมหรือกีฬาทุกครั้ง ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไรก็ตาม ให้ลูกเป็นคนที่มีมรรยาทและมีน้ำใจนักกีฬา เช่นหากเด็กๆชนะ อย่าให้เด็กทำท่าเยาะเย้ยเพื่อนที่แพ้ แต่ให้แสดงความมีน้ำใจ แต่หากแพ้ก็ให้มีน้ำใจนักกีฬาไม่ตีโพยตีพาย โกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยง หรือทำตัวเป็นพาลเกเร
7. สอนการเปิดปิดประตู ให้ผู้ใหญ่เดินเข้าก่อน ไม่ปิดประตูใส่หน้าผู้อื่น หรือรีบแซงวิ่งเข้าไปก่อน หากมีคนเปิดประตูให้ ให้กล่าวคำขอบคุณ เป็นต้น
8. สอนการเดินเข้าออกลิฟท์ ให้คนข้างในออกมาก่อนที่ตัวเองจะเดินเข้าไป เช่นเดียวกับการเดินเข้าออกอาคาร ให้คนข้างในเดินออกก่อน ตัวเองจึงจะเดินเข้าไป
9. สอนให้ลูกรู้ว่าทุกคนเป็นคนพิเศษ ไม่ว่าคนคนนั้นจะมีความแตกต่างกับเรา หรือ ครอบครัวของเรามาก อาจเป็นเพราะความแตกต่างด้านวัฒนธรรม ศาสนา หรือเชื้อชาติ แต่ทุกคนเป็นคนพิเศษ สอนให้ลูกรู้จักให้เกียรติคนทุกคน
10. สอนมรรยาทการรับประทานอาหาร การใช้ช้อนส้อมที่ถูกวิธี การไม่พูดคุยระหว่างรับประทานอาหาร การไม่รับประทานอาหารมูมมาม การไม่เคี้ยวอาหารเสียงดัง การรู้จักการใช้ช้อนกลาง เป็นต้นไรครับ